หน่วยที่ 1



บทเรียน Power Point  หน่วยที่ 1 
คลิกที่นี่ https://drive.google.com/file/d/0BwUW2VeEMU_xcVFtWkZzck0wXzQ/edit?usp=sharing

              https://drive.google.com/file/d/0BwUW2VeEMU_xbjQ3dVZsdzYzQlU/edit?usp=sharing



  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี 

            

หลักบัญชีเบื้องต้น


1. ความหมายของการบัญชี
            ตามคำนิยามของสมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา(AICPA)มาจากคำเต็มว่า The American Institute of Certified Public Accountants ซึ่งได้ให้ คำจำกัดความเกี่ยวกับการบัญชีไว้ดังนี้ การบัญชี(Accounting)เป็นศิลปะของการจดบันทึกรายการหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการเงินไว้ในรูปเงินตรา การจัดหมวดหมู่หรือจำแนกประเภทของรายการเหล่านั้น การสรุปผล รวมทั้งการตีความหมายของผลเหล่านั้น
            สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยได้ให้คำจำกัดความของการบัญชี” ดังนี้ การบัญชี หมายถึง ศิลปะการเก็บรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชี คือ การให้ข้อมูลทางการเงินซึ่งเป็นประโยชน์ต่อบุคคลหลายฝ่าย และผู้สนใจในกิจกรรมของกิจการ
            จากคำจำกัดความที่กล่าวมาข้างต้น พอสรุปได้ว่า การบัญชี” เป็นการจดบันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เกี่ยวกับการรับเงิน และการจ่ายเงิน หรือสิ่งของที่มีมูลค่าเป็นตัวเงินไว้ในสมุดบัญชีอย่างสม่าเสมอ โดยจัดแยกประเภท เป็นระเบียบ ถูกต้องตามหลักการ และสามารถแสดงผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งได้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ
            ส่วนคําว่า การจัดทําบัญชี (Bookkeeping) สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย (ส.บช.)ได้ให้คําจํากัดความว่า หมายถึง การจดบันทึกทางการบัญชี ซึ่งประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลและเอกสาร บันทึกรายการในสมุดบัญชีขั้นต้น จําแนกและจัดหมวดหมู่รายการในสมุดบัญชีขั้นปลาย ลักษณะงานการจัดทําบัญชีจะซ้ำซากและเป็นงานเสมียน ผู้ปฏิบัติงานหน้าที่นี้เรียกว่า ผู้จัดทําบัญชี( Bookkeeper) ซึ่งแตกต่างกับ นักบัญชี(Accountant)คือ ผู้ที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับการบัญชี การบันทึกบัญชี การจัดทํางบการเงิน การวางแผนระบบบัญชีให้กิจการ ควบคุมการบันทึกบัญชีทั้งหมด กําหนดนโยบายทางการบัญชี สามารถประกอบอาชีพผู้สอบบัญชีให้คําปรึกษาทางภาษีอากรของกิจการต่าง ๆ ตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป เป็นต้น

2.ประวัติและความเป็นมาของการบัญชี
            การบัญชี แบ่งออกเป็น ยุค ตามระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงดังนี้ 
      
1. ยุคก่อนระบบบัญชีคู่ เกิดขึ้นก่อน ค.ศ. 3000 ปี จนถึงศตวรรษที่13 มีการจดบันทึกข้อมูลทางบัญชี เนื่องจากการลงทุนในการค้า สภาพเศรษฐกิจและการเมืองจากระบบการแลกเปลี่ยนมาเป็นระบบการซื้อขาย และมีการพัฒนาทางเทคโนโลยี การจัดบันทึกข้อมูลทางบัญชีในยุคนี้ได้จดบันทึกไว้บนแผ่นขี้ผึ้ง 
      
2. ยุคระบบบัญชีคู่ (Double Entry Book - keeping) ในปลายศตวรรษที่13ในยุคนี้มีการลงทุนทางการค้าในรูปของการค้าร่วม หรือห้างหุ้นส่วน เริ่มมีการก่อตั้งธนาคารมีเรือใบในการขนส่งสินค้า และมีการพิมพ์หนังสือลงในกระดาษ ค.ศ. 1202 ได้ค้นพบการจัดบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่ทีสมบูรณ์ชุดแรก ที่เมืองเจนัว ประเทศอิตาลี ในปี ค.ศ. 1340 ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการค้า ต่อมาในศตวรรษที่ 15 อิตาลีเริ่มเสื่อมอำนาจลงศูนย์การค้าได้เปลี่ยนไปยังประเทศในยุโรป เช่น สเปน โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์การบันทึกข้อมูลทางบัญชีในยุคนี้ได้มีการหาผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นงวดบัญชี
            
3. ยุคปัจจุบันในศตวรรษที่20 มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้ความต้องการทางบัญชีมีมากขึ้น และวัตถุประสงค์ของข้อมูลทางบัญชีเปลี่ยนไปจากเดิมผู้บริหารเป็นผู้ใช้ข้อมูลมาเป็นผู้ลงทุนเจ้าหนี้ และรัฐบาลเป็นผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชี

3จุดประสงค์ของการบัญชี
            การบัญชีมีจุดประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อจดบันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยเรียงลําดับก่อนหลัง และจําแนกประเภทของรายการค้าไว้อย่างสมบูรณ์
2. เพื่อให้การจดบันทึกรายการค้านั้นถูกต้อง เป็นไปตามหลักการบัญชี และตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี
3. เพื่อแสดงผลการดําเนินงานในรอบระยะเวลาหนึ่ง และแสดงฐานะทางการเงินของกิจการในรอบระยะเวลาหนึ่ง
4. การทําบัญชีเป็นการรวบรวมสถิติอย่างหนึ่งที่ช่วยในการบริหารงาน และให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการวางแผนการดําเนินงาน และควบคุมกิจการให้ประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย
4. ประโยชน์ของข้อมูลการบัญชี และผู้ใช้ประโยชน์จากบัญชี
             ประโยชน์ของข้อมูลการบัญชีพอสรุปได้ดังนี้
1. ช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถควบคุมดูแล รักษาสินทรัพย์ของกิจการได้
2. ช่วยให้ทราบผลการดําเนินงานของกิจการ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ว่ามี ผลกําไรหรือขาดทุนเป็นจํานวนเงินเท่าใด
3. ช่วยให้ทราบฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง ว่ามีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของเป็นจํานวนเงินเท่าใด
4. ข้อมูลทางการบัญชีเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร ช่วยในการกําหนดนโยบาย ในการวางแผนและช่วยในการตัดสินใจต่างๆในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ข้อมูลทางบัญชีที่จดบันทึกไว้ สามารถช่วยในการตรวจสอบหาข้อผิดพลาด ในการดําเนินงานได้
            ผู้ใช้ประโยชน์จากการบัญชีพอสรุปได้ ดังนี้
1. เจ้าของหรือผู้ถือหุ้น จะสนใจถึงฐานะทางการเงินของกิจการที่ตนเองมีส่วนได้เสียตลอดจนผลตอบแทนที่จะได้รับ ซึ่งการที่จะทราบถึงฐานะการเงินของกิจการตลอดจน ผลการดําเนินงานของกิจการได้ต้องอาศัยข้อมูลทางการบัญชี
2. เจ้าหนี้การค้าและผู้ให้เงินกู้ยืม ใช้ข้อมูลทางการบัญชีประกอบการตัดสินใจว่าจะให้เครดิตหรือไม่
3. นักลงทุน นักลงทุนจะเพิ่มความมั่นใจในการลงทุน กิจการย่อมต้องมีฐานะการเงินและผลการดําเนินที่ดี
4. หน่วยงานรัฐบาล เช่น กรมสรรพากร ใช้ข้อมูลทางการบัญชีประกอบการพิจารณาในการเรียกเก็บภาษี
5. บุคคลภายในองค์กร ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ เช่น ผู้จัดการฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย ฝ่ายจัดการ ฯลฯ ซึ่งจะนําข้อมูลทางการบัญชีไปใช้ในการบริหารต่อไป

 5. ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี
            ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี หมายถึง ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทําบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 ซึ่งกําหนดผูมีหนาที่จัดทําบัญชีในประเทศไทยไว้ ดังนี้
1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
2. บริษัทจํากัด 
3. บริษัทมหาชนจํากัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
4. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายตางประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
5. กิจการรวมคาตามประมวลรัษฎากร
6. สถานที่ประกอบการธุรกิจป็นประจําในสถานที่หลายแห่งแยกจากกัน ให้ผูมีหนาที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้น เปนผูมีหน้าที่จัดทําบัญชี
7.บุคคลธรรมดา หางหุนสวนสามัญตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด

6. ผู้ทําบัญชี
             ผู้ทําบัญชีตามความหมายของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 หมายถึง ผู้รับผิดชอบในการทําบัญชีของผูมีหนาที่จัดทําบัญชี ไม่ว่าจะกระทําในฐานะเปนลูกจางของผูมีหนาที่จัดทําบัญชีหรือไม่ โดยผู้มีหนาที่จัดทําบัญชีตองจัดให้มีผูทําบัญชี ซึ่งเปนผูมีคุณสมบัติและเงื่อนไขตามที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้า ประกาศกําหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเปนผู้ทําบัญชี พ.ศ. 2543 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่10 สิงหาคม 2544 ดังตอไปนี้
            1. ผู้ทําบัญชีมีคุณวุฒิไมต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่ง ทบวงมหาวิทยาลัย คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี สามารถจัดทําบัญชีให้หางหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่ง ณ วันปดบัญชีในรอบปดบัญชีที่ผ่านมา มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไมเกิน30 ล้านบาทและมีรายได้รวมไมเกิน30 ล้านบาท
            2. ผูทําบัญชีมีคุณวุฒิไมต่ำกว่าปริญญาตรี ทางการบัญชีหรือเทียบเท่าจากสถาบันการ
ศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการข
าราชการพลเรือน(ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการ เทียบว่าไม่ต่ำกวาปริญญาตรีทางการบัญชีสามารถจัดทําบัญชีให้แกกิจการ ดังต่อไปนี้
2.1 หางหุนสวนจดทะเบียน และบริษัทจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่ง ณ วันปดบัญชีในรอบปดบัญชีที่ผานมามี ทุนจดทะเบียนหรือสินทรัพยรวมหรือรายไดรวมรายการใดรายการหนึ่งเกินกว่าที่กําหนดไว้
2.2 บริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
2.3 นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายตางประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
2.4 กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
2.5 ผูประกอบธุรกิจธนาคาร เงินทุนหลักทรัพยเครดิตฟองซิเอร์ ประกันชีวิตประกันวินาศภัย
2.6 ผูประกอบธุรกิจ ซึ่งได้รับการสงเสริมการลงทุนตามกฎหมายวาดวยการส่งเสริมการลงทุน

7. ประเภทของการบัญชี
            เนื่องจากความต้องการใช้ขอมูลการบัญชีมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของผูใชข้อมูล และวัตถุประสงค์ของการใช้การบัญชีจึงแบ่งออกได้3 ประเภท ดังนี้
            1. การบัญชีการเงิน (financial accounting) เป็นการจัดหาขอมูลให้แก่บุคคลภายนอก ซึ่งไมมีส่วนเกี่ยวของในการดําเนินงานขององค์กรได้แก่ ผู้ลงทุน ผูให้สินเชื่อ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และผู้สนใจทั่วไป ข้อมูลการบัญชีเสนอในรูป แบบของงบการเงิน ได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน และผลการดําเนินงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชนในการตัดสินใจ
            2. การบัญชีเพื่อการจัดการ (managerial accounting) เป็นการจัดหาข้อมูลให้แก่ ผู้บริหารขององค์กรนอกเหนือจากรายงานทางการบัญชีการเงิน การบัญชีเพื่อการจัด การยังให้ข้อมูลอื่นๆที่จําเป็นในการบริหารจัดการเป็นการภายใน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการวางแผน และการควบคุมการดําเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
            3. การบัญชีภาษีอากร (tax accounting) เกี่ยวข้องในเรื่องการประเมินภาษี และการวางแผนทางภาษี ซึ่ง ขึ้นอยู่กับประเภทของหน่วยงาน กรณีหน่วยงานรับาล เช่น กรมสรรพากรจะจ้างนักบัญชีภาษีอากรทําหน้าที่จัดเก็บภาษี ประเมินภาษี และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในแบบฟอร์มการเสียภาษีของผู้เสียภาษี ซึ่งจะช่วยให้องค์กรได้รับการลดหย่อนในการเสียภาษี เช่น การบริจาคเงินให้สาธารณชน สําหรับหน่วยงานธุรกิจนักบัญชีภาษีอากรช่วยผู้เสียภาษีในการกรอกแบบฟอร์มการคํานวณ และวางแผนทางภาษี

8. ข้อสมมติตามแม่บทการบัญชี
            แม่บทบัญชีงบการเงินที่กิจการต่าง ๆ ได้จัดทำขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้ ดังนั้นการจัดทำงบการเงินจำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์และข้อสมมติทางการบัญชีในการจัดทำ เพื่อให้งบการเงินแสดงข้อมูลที่ถูกต้องยุติธรรมต่อผู้ใช้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน แม่บทบัญชี (Accounting Framework) เป็นเกณฑ์ในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน ในเรื่องเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ กลุ่มผู้ใช้งบการเงิน ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน องค์ประกอบของงบการเงิน และคำนิยามขององค์ประกอบนั้น รวมถึงเกณฑ์ในการรับรู้รายการในงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน การวัดมูลค่ารายการ และแนวคิดเกี่ยวกับทุนและ การรักษาระดับทุนที่ใช้วัดผลกำไรในงบการเงิน โดยมีสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยเป็นผู้ออกใช้ เมื่อวันที่25 กุมภาพันธ์ 2542 สำหรับแม่บทบัญชีที่ออกนี้มีวัตถุประสงค์ใช้เป็นเกณฑ์ในการปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและพัฒนามาตรฐานการบัญชีที่จะใช้ในอนาคต ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ(International Accounting Standard หรือIAS)
            
ข้อสมมติตามแม่บทการบัญชี มีดังนี้
            1.เกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis)เป็นข้อสมมุติที่ถือว่างบ การเงินต้องจัดทำขึ้นภายใต้เกณฑ์คงค้าง โดยต้องรับรู้รายการและเหตุการณ์ทางการบัญชีเมื่อเกิดรายการ ไม่ใช่เมื่อรับหรือจ่ายเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ยกเว้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระแสเงินสด ดังนั้นเกณฑ์คงค้างเป็นวิธีการบัญชีที่ใช้เป็นหลักในการพิจารณาบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายให้อยู่ในงวดเวลาต่างๆ โดยคำนึงถึงรายได้ที่ พึงรับและค่าใช้จ่ายที่พึงจ่าย เพื่อให้แสดงผลการดำเนินงานของแต่ละงวดเวลานั้นอย่างเหมาะสม ทั้งนี้โดยไม่คำนึงถึงรายรับและรายจ่ายเป็นเงินสดว่าได้เงินมาแล้วหรือจ่ายเงินไปแล้วหรือไม่ตามเกณฑ์เงินสด
            2. การดำเนินงานต่อเนื่อง (Going Concern )
            โดยทั่วไปงบการเงินจัดทำขึ้นตามข้อสมมติที่ว่า กิจการจะดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและดำรงอยู่ต่อไปในอนาคต ดังนั้นจึงสมมติว่ากิจการไม่มีเจตนาหรือมีความจำเป็นที่จะเลิกกิจการหรือลดขนาดของการดำเนินงานอย่างมีสาระสำคัญ หากกิจการมีเจตนาหรือความจำเป็นดังกล่าว งบการเงินต้องจัดทำขึ้นโดยใช้เกณฑ์อื่น และต้องเปิดเผยเกณฑ์ที่ใช้นั้นในงบการเงินด้วย การดำเนินงานไปอย่างต่อเนื่อง ต้องดำรงอยู่ตลอดไปโดยแบ่งเป็นงวด ๆ ตามกำหนดงวดบัญชีของธุรกิจ เช่น 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี การจัดทาบัญชีในปัจจุบัน ผู้จัดทำบัญชีจะต้องศึกษาและเข้าใจเกี่ยวกับแม่บทการบัญชีเป็นหัวใจสำคัญ โดยเฉพาะหลักเกณฑ์ในการจัดทำรายงานการเงินและการนำเสนองบการเงิน เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินได้ใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ ในด้านการบริหารจัดการอย่างถูกต้อง และที่สำคัญข้อมูลต้องเชื่อถือได้และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ดังนั้น สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับดูแลประกอบวิชาชีพได้ทำการปรับปรุงแม่บทการบัญชี โดยกำหนดขึ้นมาเพื่อวางแนวคิดที่เป็นพื้นฐานในการจัดทำและนำเสนองบการเงินแก่ผู้ใช้ที่เป็นบุคคลภายนอกและเพื่อสนองตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการทำบัญชีและต้องการให้ชาวบ้านทำบัญชีเป็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น